instil-hiv

วิธี อยู่ ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์ ทำอย่างไรบ้าง ทำความเข้าใจที่ถูกต้อง

วิธี อยู่ ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์

วิธี อยู่ ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์ นั้นไม่ได้ยุ่งยากอะไร อีกทั้งสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเรียบง่ายปกติ สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ รับประทานอาหารร่วมกันได้ ใช้ห้องน้ำร่วมกันได้ วันนี้เรามาทำความเข้าใจก่อนดีกว่าว่าอะไรที่อาจจะเป็นความเข้าใจผิดบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้

  1. 1. น้ำตา น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ และเหงื่อ สัมผัสสารคัดหลั่งเหล่านี้ไม่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี
  2. 2. เอชไอวีไม่ติดต่อผ่านทางอากาศ
  3. 3. เอชไอวไม่ติดต่อผ่านทางน้ำ
  4. 4. เอชไอวีไม่ติดต่อผ่านทางแมลง
  5. 5. หากเพียงสัมผัสผิวหนังกัน ไม่ทำให้ติดเชื้อ

วิธี อยู่ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์ เราอาจจะต้องเข้าใจเขามาก ๆ ใส่ใจและอดทน โดยที่นี้อาจจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ทานยาต้านไวรัสอยู่สม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถยับยั้งเชื้อในร่างกายได้ และกดเชื้อนั้นไว้ได้

โดยแบบที่ 1 นี้ เราไม่ต้องเป็นกังวลในการที่จะดูแลเขาเพียงแค่เข้าใจเขามาก ๆ ก็พอ เพราะว่าบุคคลเหล่านี้หากทานยาต้านไวรัสสม่ำเสมอ จะทำให้เชื้อไม่ทำร้ายสุขภาพร่างกาย ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน มีชีวิตยืนยาวดังปกติ ซึ่งเขาสามารถดูแลตนเองได้ ดังนั้นเราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเขาปกติได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการแพร่เชื้อ เพราะเชื้อนั้นโดนยาตาต้านไวรัสกดยับยั้งไว้แล้ว จนกระทั่งในผู้ป่วยบางรายตรวจไม่พบเชื้อ (ไม่ได้แปลว่าไม่มีเชื้อ แต่เป็นการที่เชื้อน้อยมากจนกระทั่งเกินขีดต่ำสุดที่เครื่องจะตรวจเจอ) หรือเรียกว่า U=U ไม่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

จึงทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยแบบที่ 1 ได้ดังปกติ ปฏิบัติกับเขาได้เหมือนคนปกติทั่วไป

อาจจะเพียงแค่งดใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน ที่โกนหนวด เป็นต้น แล้วก็ให้ดูแลเรื่องสุขอนามัยในห้องน้ำเป็นพิเศษเล็กน้อย อย่างการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดโถสุขภัณฑ์ให้สะอาดก่อนใช้ต่อกัน อีกอย่างที่สำคัญคือการทำความเข้าใจเขาให้มาก ๆ ดูแลสภาวะจิตใจให้เข้มแข็ง

แบบที่ 2 คือ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี แบบระยะที่กำลังเข้าสู่เอดส์ หรือป่วยเป็นเอดส์แล้ว

โดยแบบที่ 2 นี้ ผู้ป่วยอาจจะมีสภาวะทางจิตใจที่ค่อนข้างย่ำแย่หรือถึงสภาวะทางกายที่อาจจะเริ่มป่วยหรือป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนแล้วทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง ป่วยง่าย บางครั้งถึงกระทั่งนอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ในกรณีนี้ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ทำให้เราอาจจะต้องเอาตัวเองเข้าไปดูแลในเกือบทุกเรื่องในกิจวัตรประจำวัน อย่างเช่นการทำความสะอาดสถานที่ที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ หรือห้องที่ต้องใช้ร่วมกัน หรือแม้กระทั่งการสัมผัสตามร่างกาย ควรสวมถุงมือยางเพื่อป้องกันการสัมผัสสารคัดหลั่ง ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสถึงแม้ว่าจะใส่ถุงมือก็ตาม ห้ามใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน ระวังมากขึ้นเมื่อต้องสัมผัสของมีคม เช่น เข็มฉีดยา ต้องระวังไม่ให้มาทิ่มแทงที่เรา หรือบาดเรา ควรทิ้งขยะโดยจัดเก็บและปิดให้มิดชิดโดยแยกออกจาขยะชนิดอื่น ๆ


สุดท้ายแล้วเราควรให้กำลังใจผู้ป่วยเสมอ และปฏิบัติกับผู้ป่วยเหมือนคนปกติ พยายามให้ผู้ป่วยกินยาสม่ำเสมอ สร้างสภาพแวดล้อให้น่าอยู่ เน้นให้ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ