ตรวจ HIV ปิด เคส กี่ วัน มีการแนะนำอย่างไรบ้าง กับระยะความเสี่ยงที่เหมาะสม สำหรับการตรวจเอชไอวี
การตรวจ เอชไอวี ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว อีกต่อไปในปัจจุบันนี้ ด้วยความเปิดกว้างของ สังคมที่มากขึ้น และความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่แพร่หลายมากขึ้น
ทั้ง การตรวจเอชไอวี ก็เข้าถึงได้ง่ายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ประชาชนไทยสามารถตรวจได้ฟรี ที่โรงพยาบาลรัฐ ปีละ 2 ครั้ง ตรวจแบบไม่เปิดเผยชื่อที่คลินิกนิรนาม ตรวจแบบมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ราคาถูก ปานกลาง ไปถึงสูง ที่คลินิกแถวบ้าน หรือโรงพยาบาลเอกชน
และที่สำคัญ การตรวจHIVด้วยตนเอง ด้วย ชุดตรวจ HIV Self Test หรือ Home Use ซึ่งเป็น การตรวจคัดกรองด้วยตนเองอย่างง่าย ใช้ตรวจเมื่อไหร่ก็ได้ ในทุกที่ที่สะดวก รู้ผลทันทีภายในไม่กี่นาที อ่านผลด้วยตาเปล่า
ทำให้การตรวจ HIV นั้น ไม่น่ากลัว และไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
แล้วถ้าเป็นเช่นนี้ ทุกคน คงเคยสงสัยว่า เมื่อเราได้รับ ความเสี่ยงเอชไอวีมา สามารถไปตรวจ ได้ทันทีเลยไหม และเมื่อรู้ ผลตรวจแล้ว สามารถสบายใจ ได้เลยหรือเปล่า กังวลเกี่ยวกับระยะ Window Period
Window Period คือ ช่วงเวลาที่ คุณอาจจะได้รับเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายแล้ว แต่ไม่สามารถ ตรวจพบเชื้อได้
– เริ่มต้นเมื่อคาดว่าได้รับความเสี่ยง คุณสามารถตรวจได้ไวที่สุดที่
ทางเลือกที่ 1 ตรวจที่ระยะความเสี่ยง 7 วัน (ตรวจด้วยวิธี NAT)
ทางเลือกที่ 2 ตรวจที่ระยะความเสี่ยง 14 วัน (ตรวจด้วยน้ำยา Gen4)
ทางเลือกที่ 3 ตรวจที่ระยะความเสี่ยงที่ 21 วัน (ตรวจด้วยน้ำยา Gen3)
สามารถเลือกตรวจได้ตามความสะดวกของคุณ
อย่างไรก็ตาม มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญมากมาย ให้ผู้มีความเสี่ยง ตรวจเอชไอวีที่ระยะความเสี่ยง 30 วัน หรือ 1 เดือน
– ตรวจ HIV ปิดเคส กี่ วัน ทั้งนี้ก็มีผู้ที่ไม่สบายใจหลังจากตรวจเอชไอวีครั้งแรกแล้ว ทราบว่าผลเป็นลบ (Non-Reactive) กลัวว่าผลตรวจจะผิดพลาดหรือไม่ กลัวเกี่ยวกับระยะ Window Period อาจจะตรวจในช่วงเวลานี้ จึงทำให้ตรวจไม่พบเชื้อหรือเปล่า ในที่นี้มีคำแนะนำ
คำแนะนำ หากตรวจหาเชื้อเอชไอวี ไม่พบ ที่ระยะเวลาเสี่ยง 1 เดือน โอกาสที่จะติดเชื้อเอชไอวี จะค่อนข้างน้อยมาก ความแม่นยำนั้น ตามเปอร์เซ็นต์ที่ชุดตรวจ หรือวิธีตรวจนั้น การันตี ซึ่งโดยส่วนมาก คือ มากกว่า 99% ทั้งนี้ ในผู้ที่ไม่สบายใจจริง ๆ ต้องการ ความปลอดภัย มากที่สุด แนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้ง ที่ระยะเวลาเสี่ยงสามเดือน หรือ 90 วัน
นอกจากนี้ มีหลายท่านที่ ยังคงกังวลใจ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ผื่นคัน หวัด ไอแห้ง เหงื่ออกตอนกลางคืน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถ่ายเหลว ลิ้นฝ้า เป็นต้น จนทำให้คิดว่า ผลตรวจแม่นยำจริง หรือไม่ อาจจะติดเชื้อ HIV แต่ตรวจไม่พบ
ปกติแล้ว อาการที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่อาการ ที่จำเพาะเจาะจง ต่อการติดเชื้อ HIV เพราะหาก ติดเชื้อไวรัสตัวอื่น ๆ ก็สามารถมีอาการเหล่านี้ ได้เช่นกัน
ทางที่ดีที่สุดคือ การตรวจหาเชื้อHIV เท่านั้น